วิธีการปลูกต้นไม้ผล

วิธีการปลูกต้นไม้ผล

การปลูก

ขั้นตอนที่ 1 การเลือกชนิดของไม้ผลที่จะปลูก

          การที่จะเลือกปลูกไม้ผลชนิดใด ควรพิจารณาความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศของไม้ผลแต่ละชนิด ต้องพิจารณาให้ถูกต้องเหมาะสมมีหลักพิจารณา  ดังนี้

    1. ไม้ผลที่ต้องการอากาศค่อนข้างร้อนและชื้น ต้องการความชื้นในดินและในอากาศค่อนข้างสูง เช่นเงาะ ทุเรียน มังคุด ลางสาด มะไฟ เป็นต้น พวกนี้เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศเย็น ฝนตกชุก เช่น ทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคกลาง
    2. ไม้ผลที่ต้องการอากาศกึ่งร้อน เช่น ลิ้นชี่ ลำไย จะเจริญเติบโตได้ดีทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณที่มีอากาศเย็นบางจังหวัด เช่น อำเภอปางช่อง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเลย  เป็นต้น
    3. ไม้ผลที่ต้องการอากาศเย็นจัด โดยเฉาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีน้ำค้างและหมอกจัด เช่น สตรอเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ท้อ เป็นต้น ไม้ผลเหล่านี้ จะสามารถเติมโตได้ดีทางภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแถบภูเขาสูง  ที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี
    4. ไม้ผลที่ปลูกได้ทั่วๆไป แม้แต่ในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และอากาศร้อนจัดก็สามารถเจริญเติบโตได้ เช่น มะม่วง ขนุน ละมุด ฝรั่ง น้อยหน่า  เป็นต้น
รวมไม้ผลสวนสีดาฟาร์ม (วิธีการปลูกอยู่ด้านล่าง)


ขั้นตอนที่ 2
 การปลูกและดูแลรักษา

    1. การเตรียมหลุมปลูก  ขนาดของหลุมปลูกที่จะใช้สำหรับปลูกไม้ยืนต้นนั้น หากสามารถเตรียมได้ขนาดใหญ่ยิ่งดี ขนาดของหลุม กว้าง-ยาว-ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิดไม้ผลและสภาพพื้นที่ปลูก ถ้าดินดีก็ขุดหลุมปลูกขนาดเล็กได้ แต่ถ้าดินไม่ค่อยดี ควรขุดหลุมปลูกขนาดใหญ่ จะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น แล้วผสมดินด้วยปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ เมื่อคลุกเคล้ากันดี ให้กลบดินลงก้นหลุมก่อนปลูก
    2. ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูก  ต้นพันธุ์ไม้ผลที่นำมาปลูกนั้น จะมีกิ่งทาบ  กิ่งติดตา  และกิ่งตอน เสียบยอด เพาะเมล็ด  ปกติกิ่งทาบหลังจากตัดแล้วจะถูกนำมาชำไว้ในกระถาง  หรือถุงพลาสติกดำเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะนำไปปลูก  หากเป็นกิ่งตัดที่ตัดมาใหม่ๆจากต้นให้ตัดกิ่งให้มีจำนวนใบเหลือน้อยใบอ่อนที่มีอยู่จะทำให้น้ำระเหยได้มากกว่าส่วนอื่นจึงควรตัดทิ้งเสีย  แช่กิ่งตอนใส่ถุงพลาสติก  กระชุ  หรือกระถาง  โดยตุ้มตอนอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินประมาณ  2  นิ้ว  ก่อนชำอย่าลืมแกะเอาเชือกและพลาสติกที่หุ้มออกด้วย  จนกระทั่งกิ่งตอนตั้งตัวได้แข็งแรงดีแล้วจึงนำไปปลูก
    3. วิธีปลูก  เมื่อเตรียมต้นพันธุ์เรียบร้อยแล้วจึงลงมือปลูก  โดยถ่ายต้นพันธุ์ออกจากกระถางหรือพลาสติกที่ชำไว้  ถ้ามีรากหุ้มด้านนอก  ค่อยๆ  คลี่ให้กางออก  กิ่งตอนเวลาปลูกให้กลบดินบริเวณโคนต้น  สูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย  กิ่งทาบ เสียบยอด และกิ่งติดตา  เวลาปลูกต้องให้รอยทาบหรือรอยติดตาสูงกว่าระดับดิน  ข้อที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่งคือ  ต้องแกะผ้าพลาสติกที่พันรอยทาบออก  เมื่อตั้งตัวแล้วอย่าลืมทิ้งไว้  เพราะเมื่อต้นไม้มีการขยายขนาดของกิ่ง  ผ้าพลาสติกนี้จะไปรัดจนลงไปในส่วนของเนื้อไม้ทำให้กิ่งหัก  หรือตายได้
  • ขั้นตอนที่ 3 การใส่ปุ๋ยผึ้งมังกร คู่กับปุ๋ยเคมี :

      1. ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินให้ร่วนเหมาะแก่การเจริญเติบโต  ปรับสภาพความเป็นกรดหรือด่างจัดให้มีสภาพเป็นกลาง  และเป็นแหล่งของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม  ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างน้อยปีละ  1 – 2  ครั้ง  ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมีควรแบ่งใส่ครั้งละน้อยๆ  เพราะปุ๋ยเคมีสลายตัวเร็ว
      2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้ผล  มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน  ที่ควรต้องคำนึงถึง คือ
        2.1  อายุของต้นไม้  
        2.2  สภาพของดิน  
        2.3  ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม  
        2.4  ปริมาณน้ำฝน  
        2.5  ชนิดของผลไม้ 
      3. วิธีการใส่ปุ๋ย : โดยทั่วไปมักใช้การโรยหรือหว่านบริเวณรอบๆ  ทรงพุ่ม  ซึ่งรากที่ทำหน้าที่ในการดูดน้ำ และแร่ธาตุอาหารจะอยู่ในบริเวณนี้เป็นส่วนใหญ่  จากนั้นจึงพรวนดินกลบให้ปุ๋ยคลุกเคล้าเข้ากับดิน
      4. วิธีการใส่ปุ๋ยนั้นควรแบ่งการใส่เป็นดังนี้
        4.1  ตั้งแต่เริ่มปลูก ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองพื้น
        4.2  สัดส่วนการใช้ปุ๋ยคอหรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี ตามอายุพืช
                           4.3  สูตรปุ๋ยเคมี ที่ใช้คู่กับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักร ขึ้นอยู่กับระยะของพืชในแต่ละปี ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งใส่ 3 ครั้งต่อปี โดยการใส่แต่ละครั้งเน้นสัดส่วน N:P:K เป็นหลัก อาทิเช่น
                                  ถ้า N:P:K = 1:1:1 สามารถใช้สูตร 15:15:15 ได้ระยะต่างๆมีดังนี้

                                                                 ช่วงการเจริญเติบโต             N : P : K : = 1 : 1 : 1
                                                                 ช่วงการออกดอก                  N : P : K : = 1 : 2 : 1
                                                                 ช่วงการให้ผล                      N : P : K : = 1 : 1 : 2

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
12 พฤษภาคม 2564 18:55:50
โดย :
 3871
ผู้เข้าชม
คะแนน
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์